วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้งาน HOSxP PCU ปีที่ 1 (ตอนที่ 2)

     วันนี้มาต่อครับประสบการณ์การใช้งาน HOSxP PCU ตอนที่ 2 เป็นเวลา 1 ปี ที่ได้ใช้โปรแกรมมา การใช้ HOSxP PCU ของ สอ.และ รพ.สต.ทั้งจังหวัดก็คล้ายกันครับ การบริหารจัดการระดับอำเภอเป็นการสนับสนุนในลักษณะที่ว่าเห็นชอบ และก็ให้ระดับผู้ปฏิบัติดำเนินการกันไป เป็นเรื่องทางเทคนิคที่ผู้บริหารคิดว่าคงไม่ต้องลงในรายละเอียด ทำได้ก็ทำ ไม่ได้ก็ให้โทรปรึกษากันเอาเอง ใครรู้จักใครก็ถามแล้วแก้ไขกันเอาเอง.ฯลฯ

     สภาพปัญหาปกติที่เกิดขึ้นหลังจากอบรมการใช้ HOSxP PCU ไปแล้ว คือ ความเงียบ..ในหลายๆ พื้นที่ บางอำเภอมีการเร่งรัด ติดตามการใช้งานพี่ที่สาธารณสุขอำเภอบางท่านโทรศัพท์เข้ามาติดตามสอบถาม และประสานงานให้ผมโดยตรงให้ไปช่วยอบรมเพิ่มเติม ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องมาช่วยกันคิดว่าทำไมไม่ประสานกับทีมจังหวัด ปัญหาอยู่ที่ตรงไหน ศักยภาพของทีมพอหรือไม่ ขาดการทำงานเชิงรุกหรือเปล่า หรือติดกรอบอยู่เฉพาะการทำงานในเวลาราชการเท่านั้น ที่ทำให้ไม่สามารถสร้างความมั่นใจและให้การสนับสนุนกับทีมระดับอำเภอได้เต็มที่ บางอำเภอมีเพียงบาง รพ.สต.เท่าที่ที่โทรเข้ามาสอบถาม บางแห่งใช้งานแบบเดิมๆ ไม่ได้ปรับปรุงตารางอะไรเพิ่มเติมเลยหลังจากกลับมาจากการอบรม บางอำเภอยังไม่ยอมลงทุนเรื่อง hardware. ฯลฯ

     สภาพปัญหาแบบนี้ควรจะแก้ไขกันอย่างไรดีล่ะครับ.. จะบอกให้ท่านสาธารณสุขอำเภอแต่ละแห่งช่วยติดตาม ท่านก็คงบอกว่าได้ติดตาม สั่งการให้ทำ สนับสนุนให้ใช้แล้ว แต่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่สะท้อนกลับมาว่าใช้แล้วมีปัญหาเยอะ และไม่ได้รับแก้ปัญหา หรือแก้ปัญหาล่าช้า ฯลฯ ซึ่งกว่าปัญหาทั้งหมดจะมาคุยกันได้ก็มักจะมาจบกันด้วยคารมโวหารในห้องประชุมประจำเดือนของจังหวัด และเดินออกจากห้องประชุมด้วยความผิดหวัง..กันทุกฝ่าย

     ถ้าผู้บริหารไม่รู้ในรายละเอียดบ้าง..จะไปสั่งการถูกได้อย่างไรกัน ผมยังมองว่าจำเป็นครับที่สาธารณสุขอำเภอทุกท่านควรมีความรู้พื้นฐานในเรื่องการจัดการ การใช้งาน HOSxP PCU ไม่ใช่จะดูแลในเชิงบริหารอย่างเดียว..

     จุดอ่อนของเรา คือ การใช้เวลาในการเตรียมคนในการดูแลระดับอำเภอ ทีมพี่เลี้ยงในระดับจังหวัดไม่สามารถตอบคำถามในประเด็นปัญหาการใช้โปรแกรม ครับ..ดังนั้นต้องรีบปิดจุดอ่อนตรงนี้ด้วยการติดตามสอบถาม หรือลงไปดูสภาพปัญหาในพื้นที่อย่างต่อเนื่องหลังจากการอบรม การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโปรแกรม การเตรียมทีมในการ support ระดับจังหวัด ว่าใครจะทำอะไร ใครดูเรื่องรายงาน ใครดูเรื่องการส่งข้อมูล ฯลฯ ถ้าปล่อยให้ปัญหาคาราคาซัง สุดท้ายก็จะกลายเป็นสิ่งที่น่า เบื่อหน่าย ไม่ประทับใจกับการใช้งาน สุดท้ายถึงขั้นปิดใจ..ไม่ยอมรับการเรียนรู้อะไรอีกเลย

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

รายงาน สปภ 02/1 ไม่แสดงรายงาน

          เมื่อวานตอนเย็นๆได้รับโทรศัพท์จากพี่ที่อำเภอวังทองคนหนึ่งว่ารายงาน สปภ 02/1 ไม่แสดงรายงานตอนออกรายงาน ทั้งๆที่เดือนก่อนๆก็ออกปกติ เลยให้พี่เขาส่งฐานข้อมูลมาให้ตรวจสอบดู จากการตรวจดูพบว่า ใน One stop service บริเวณผลการวินิจฉัยโรคกับค่าใช้จ่ายไม่แสดงรายการ



     อาจเป็นผลให้ไม่แสดงรายงาน เลยโทรศัพท์ไปถามพี่เขาว่าก่อนหน้านี้ได้เอาฐานข้อมูล backup มาใช้บ้างหรือเปล่า คำตอบคือเอามาใช้ครับ  ผมเลยลอง Resync VN (quick) วิธีทำก็คือ ไปทำการ Resync ข้อมูลครับ


ผลที่ได้ก็คือ one stop service ก็แสดงข้อมูล  รายงานก็ออกครับ

          ผมคิดว่าการที่เรานำ backup มาใช้บ่อยๆ เราควร resync บ้าง แต่ให้ทำแบบ resync VN (quick)นะครับ

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้งาน HOSxP PCU ปีที่ 1

          สวัสดีครับวันนี้อยู่ๆก็อยากจะเขียนประสบการณ์การใช้งานโปรแกรมHOSxP PCU ที่ใช้งานมากว่า 1 ปี เดิมจังหวัดพิษณุโลกของผมใช้โปรแกรมที่ทีม สสจ.พัฒนาขึ้นมาเอง ที่เรียกว่า"PLK PRO" ในความคิดส่วนตัวผมคิดว่าเป็นโปรแกรมที่ดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว แต่เนื่องจากปัจจุบันความต้องการข้อมูลในระดับกระทรวงมีเพิ่มมากขึ้นทำให้โปรแกรมของเราพัฒนาได้ไม่ทันตามความต้องการ ผู้บริหารจึงเห็นว่าต้องมีการเปลี่ยนโปรแกรมเพื่อให้ตอบสนองในระดับกระทรวง และงบประมาณที่จะได้รับจาก สปสช.จึงตกลงกันว่าจะเปลี่ยนเป็นโปรแกรม "HOSxP และ HOSxP PCU" ทั้งจังหวัด

          การเริ่มต้นเริ่มในเดือนเมษายน 2552 จากการให้ ผู้รับผิดชอบงานสารสนเทศระดับอำเภอเข้ารับการอบรมการใช้งานเบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม เป็นเวลา 5 วัน ตั้งแต่การบันทึกบัญชี 1-8 ,One stop service การเขียนรายงานเบื้องต้น มึนไปหมดเลยครับ จำได้บ้างไม่ได้บ้างในเวลา 5 วัน กลับไปผมเองก็จำไม่ค่อยได้หรอกครับ ผ่านไปเดือนนึงก็ไม่ได้แตะอีกเลย อยู่มาวันนึง สสจ.ก็มีการนำเสนอข้อมูล 18 แฟ้ม ซึ่งข้อมมูลในอำเภอผม(นครไทย)ออกมาน้อยมาก ก็เลยนึกถึงโปรแกรมขึ้นมาเลยมาลองศึกษาดูอีกสักครั้ง โดยเริ่มเข้าเวป HOSxP.net เริ่มศึกษาวิธีการติดตั้งโปรแกรม การตั้งค่าต่างๆ ต่อมาก็ศึกษาตารางต่างๆ ลืมบอกไปว่าการโอนข้อมูลจาก PLK PRO มา HOSxP ของจังหวัดผม มีพี่ที่สสจ.เป็นคนเขียนตัวโอนเข้ามาครับ ทำให้ค่าในตารางต่างๆไม่ตรงสักเท่าไหร่ พอดีเห็นในเวปชื่อ อาจารย์ผมขอเรียกว่าอาจารย์ละกันเพราะเป็นผู้ให้ความรู้กับผมได้มากเลยครับเกี่ยวกับตารางใน HOSxP PCU ชื่อว่า"jdadmin1" ได้แนะนำการตั้งค่าพื้นฐานของโปรแกรม ตารางต่างๆ บางครั้งรีโมทมาช่วยในการดูตารางให้ผมทำให้ผ่านมาด้วยดี ในเรื่องของการตั้งค่าเริ่มต้นการใช้งาน หลังจากนั้นผมก็เริ่มทดลองใช้งานเมนูต่างๆ ลองเองครับทีละเมนูจนพอรู้บ้างในแต่ละเมนู ตอนนั้นมี สถานีอนามัยนำร่องในอำเภอผมอยู่ 3-4 แห่ง ทดลองใช้กันอยู 2 เดือน พอ กันยายน 2552 ก็เลยจัดอบรมเจ้าหน้าทุกแห่งเพื่อเตรียมขึ้นระบบในปีงบประมาณใหม่(2553) จัดอบรมกันเองครับแบบลูกทุ่งๆใช้เวลา 5 วัน ตั้งแต่การโอนข้อมูลการใช้งานเบื้องต้น หลังจากนั้นในเดือนกันยายนก็ให้ทดลองใช้ไปเรื่อยๆเพื่อความชำนาญครับ พอเดือนตุลาคมในอำเภอผมก็ให้ทุกสถานีอนามัยใช้กันเต็มระบบ (แต่อำเภออื่นๆในจังหวัดผมเริ่มใช้ในเดือนพฤศจิกายน)ในการใช้งานครั้งแรกเราใช้เครื่อง PC ลงโปรแกรมและฐานข้อมูลบนวินโดวส์ทุกแห่ง และไม่ให้ใช้เครื่องปะปนกับโปรแกรมอื่นเพื่อป้องกันไวรัส แรกๆพบปัญหาเยอะครับแต่ก็ช่วยกันแก้ปัญหามาเรื่อยๆ สอบถามในเวปบอร์ดบ้างทำให้ข้อมูลของเราค่อยๆดีขึ้นมาเรื่อยๆ หลังจากนั้นก็เริ่มหาทีมงานมาช่วยกันพัฒนาในแต่ละเรื่อง เช่น แบ่งกันดูระบบรายงาน ระบบ network. Table. ได้เพื่อนๆพี่ๆช่วยกันครับ

          เดือนมกราคม 2553 จังหวัดให้ server มาครับ เอาแล้วงานเข้าสิครับ ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลยต้องศึกษาเรื่อง server อีกก็ได้ อ.jdadmin1 อีกนั่นแหละครับแนะนำ อ.tanoy999 ให้ก็ทดลองลงCentOS ซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายรอบ พอชำนาญแล้วค่อยติดตั้งกันกับ server จริงที่จะใช้กัน ทั้งหมดก็ 20 เครื่อง ใช้CentOS 5.3 กับ MySQL 5.1.39 การทำ server เองและทำระบบ network กันเองทำให้สามารถแก้ปัญหาให้กับสถานีอนามัยได้อย่างรวดเร็ว เพราะทำเองและทำเป็น flow chart ไว้เวลาแก้ปัญหาจะได้รู้ว่าสถานีอนามัยแห่งนี้วางระบบไว้อย่างไรบ้าง

          ในการใช้งานปีแรกจะพบปัญหามากมายทั้งที่เกิดจาก hardware ,people ware ,software ผมก็สอบถามในเวปบอร์ดจะช่วยเราได้มาก ได้เพื่อน ได้มิตรภาพ และที่สำคัญได้ความรู้ไว้แก้ปัญหาให้กับสถานีอนามัยอีกหลายแห่งที่เกิดปัญหากรณีเดียวกัน (สนุกครับ)สิ่งหนึ่งที่อยากจะฝากไว้คือการทำงานเป็นทีมงาน การประสานงานกับเพื่อนต่างอำเภอ แชร์ประสบการณ์การทำงานช่วยกันทำงาน เพื่อลดภาระการทำงานให้แก่เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย มาถึงตอนนี้การใช้งานค่อนข้างไปได้ด้วยดี(ด้านระบบนะครับ) CUP มีการ support เครื่องพิมพ์ฉลากยา ค่าอินเตอร์เน็ต หลายๆอย่าง การเตรียมตัวให้พร้อม ซ้อมให้นาน และมีทีมคอยทดสอบโปรแกรม ให้คำแนะนำ ไม่ปล่อยให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยโดดเดี่ยว คอยแก้ปัญหาให้เจ้าหน้าที่จะมีความสุขในการทำงานครับ

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

Sticker ฉลากยาใน HOSxP PCU ตอน 2

Sticker ฉลากยาใน HOSxP PCU ตอน 2 

สิ่งที่ต้องตรวจสอบในการใช้ Print Sticker เบื้องต้นเลยก็ตามภาพนะครับ


     1. ชื่อ database ว่าถูกต้องกับ database ที่เราต้องการ connect หรือไม่ (กรณีมี database หลายตัว)
     2. IP ของเครื่อง server ที่เชื่อมต่อ
     3. IP ของเครื่อง Client ( IP เครื่องของเรา)

การสั่ง print ก็อธิบายด้วยภาพเลยนะครับ


     1. ติ๊กถูกรายการยาที่ต้องการ print
     2. ติ๊กถูก พิมพ์ sticker ยา
     3. กดบันทึกครับ  แล้ว Sticker ฉลากยาจะออกมาดังภาพครับ



วันนี้เอาแค่นี้ก่อนนะครับ สำหรับตอนต่อไป หากใครติดตั้งโปรแกรม HOSxP ของโรงพยาบาลบนเครื่อง client จะพบว่าอาจพิมพ์ไม่ออก มีวิธีการแก้ไขอย่างไร ติดตามตอนต่อไปครับ

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

Sticker ฉลากยาใน HOSxP PCU ตอน 1

คำถาม : สถานีอนามัยที่ต้องการใช้ Print ฉลากยาจะเริ่มต้นอย่างไรดี เอาล่ะเริ่มเลยละกัน
     1. ฉลากยา PCU จะประกอบไปด้วย file ดังนี้นะครับ
          - StickerAppReport.rtm
          - StickerDetailReport.rtm
          - StickerHeaderReport.rtm
          - StickerHeaderReportIPD.rtm
          - StickerPersonReport.rtm
     เอ.....แล้ว file นี้มันอยู่ตรงไหนละครับ
     2. อยู่ที่นี่ครับ C:program files\HOSxP PCU   ถ้ามี file เหล่านี้ซึ่่งจะเป็นแบบฟอร์มของฉลากยา ก็ copy ไปวางที่ C:program files\HOSxP PCU ได้เลยครับ

วิธีการใช้ให้ทำดังนี้ครับ
     1. เปิด HOSxPStickerPrintServer ที่อยู่ใน C:program files\HOSxP PCU ครับ เปิดแล้วจะพบดังรูปครับ


     2. เลือก Sticker Printer แล้ว กด Start

แค่นี้ก่อนนะครับ จะมาต่อวันหลังครับ

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

รายงาน 0110 รง 5 ใน HOSxP PCU

คำถาม : รายงานออกมาแปลกๆ มีข้อมูลน้อย ทั้งที่ข้อมูลบัญชี 1 ในเรื่องสิทธิ์ก็ถูกต้อง




เอ๊ะ แล้วที่ว่าถูกเนี่ยตั้งค่าอย่างนี้หรือเปล่ามาดูกันนะครับ
1. ที่ System Setting แถบ สิทธิ์การรักษามีการตั้งค่าตามนี้หรือเปล่า
     1.1 ข้อมูลพื้นฐาน ในสิทธิ์ต่างๆต้องมีการเปิดใช้งานตามภาพครับ




เลือกหมวดรายงาน สปภ.




     1.2 เลือกวิธีการนับยอดในเขต ว่าจะให้นับแบบไหน  ตามรหัสสถานพยาบาลหลัก/รอง ,ตามที่อยู่ ,ตามข้อมูลที่ลงทะเบียน ,นับเป็นในเขตเสมอ หรือนับเป็นนอกเขตเสมอด้วยครับ
     1.3  สังเกตง่ายๆๆตรงช่องสถานะจะมี สีเขียว (หมายถึงเปิดใช้งาน) (ถ้าเจอสีแดงหมายถึงยกเลิกการใช้) และช่องนับยอดต้องมีข้อความตามรูป แต่ถ้าเป็น N/A หมายถึงไม่ได้ระบุครับ ซึ่งจะมีผลต่อรายงาน 11รง5 ครับ


รายงานที่ได้ น่าจะออกมาแบบนี้นะครับ




แต่ทั้งนี้ต้องลง icd10 ให้ถูกต้องด้วยนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

สามัคคี

"เวลาที่ระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยมีปัญหา ก็เหมือนรถที่เสียอยู่..และก็มีคนที่แก้ไขอยู่แค่ admin 
แล้วคนส่วนใหญ่ทำอะไรกันอยู่.. 
แชท เล่นเกมส์ ดูข่าวดารา โหลดบิต facebook จ่ม บ่น ด่า admin และโทษว่าโปรแกรมไม่ดี.. admin ก็ได้แต่ ครับ ครับ ครับ 

และถ้า admin หมดแรงลง อยากรู้พวกเราจะทำอย่างไรกับระบบข้อมูล 
จ้างคนมาช่วย จ่ายเงินให้บริษัทมาช่วยดูแล หรืออัญเชิญเทพ HOSxP ทั้งหลายมาช่วย.. 

ลืมไป..ว่าเทพส่วนใหญ่ช่วยแก้ปัญหาได้แค่ในบอร์ด 
เพราะปัญหาจริงๆส่วนใหญ่เกิดจากคนใช้ ที่ไม่สนใจเรียนรู้โมดูลการใช้งานของตนเอง 

สุดท้ายก็โทษกัน... 

ในขณะที่ระบบข้อมูลของโรงพยาบาลและสถานีอนามัยกำลังถอยหลังไปเรื่อยๆ 
ผลงานต่ำกว่าความเป็นจริง 
ถึงเวลาหรือยังที่พวกเราควรบอกตัวเองว่า..หมั่นเรียนรู้และลงมือทำช่วยกัน(ซะที)" 





ทดสอบระบบ

Admin ทีมจังหวัดพิษณุโลกขอใช้ช่องทางนี้เพื่อเราชาวสา'สุข จังหวัดพิษณุโลก   

(ต่างจังหวัดก็ยินดีนะครับ)ใช้เป็นเวทีแลกเปลี่ยน ติดตาม การใช้งาน HOSxP และ HOSxP_PCU ของเรานะครับ